สาเหตุที่พระพุทธเจ้าตรัสชาดก.สมัยพุทธกาล ณ แคว้นโกศล มีโจรกลุ่มหนึ่งปล้น
สะดมชาวบ้านแล้วหนีไปชาวบ้านจึงพากันหาโจรจนมาถึงหมู่บ้านชายแดนแห่ง
หนึ่งพบชาย ๓ คนกำลังไถนาอยู่ จึงคิดว่าเป็นโจรปลอมเป็นชาวนา จึงจับกุมทุบ
ตีแล้วคุมตัวมาถวายพระเจ้าโกศล ต่อมา ได้มีหญิงวัยกลางคนคนหนึ่ง เดินร้อง
ให้รำพันรอบ ๆ พระราชวังขอพระราชทานเครื่องนุ่งห่ม ความทราบถึง
พระเจ้าโกศลพระองค์ มีรับสั่งให้นำผ้าสาฎกไปมอบให้แก่นาง แต่นางกลับยิ่งร้อง
ไห้หนักขึ้นและกล่าว “ขอพระราชทานเครื่องนุ่งห่ม คือสามี” ราชบุรุษจึงนำนางไป
เข้าเฝ้าพระเจ้าโกศลได้ทรงซักถามนางจึงว่า “สามีชื่อว่าเครื่องนุ่งห่มของหญิง
เมื่อไม่มีสามีแม้จะนุ่งห่มผ้าราคาตั้ง ๑,๐๐๐ กษาปณ์ ก็ชื่อว่าหญิงเปลือยอยู่นั่นเอง
แม่น้ำไม่มีน้ำชื่อว่าเปลือยแว่นแคว้นไม่มีราชา ชื่อว่าเปลือย หญิงปราศจากสามี
ถึงจะมีพี่น้องตั้ง ๑๐ คน ก็ชื่อว่าเปลือย” …..พระเจ้าโกศลเกิดเลื่อมใสจึงตรัสคืน
ชายหนึ่งคนให้ นางจึงขอ พี่ชายและให้เหตุผลว่า ถ้ายังมีชีวิตย่อมหาสามีใหม่และ
มีบุตรใหม่ได้ แต่บิดามารดาได้สิ้นชีวิตไปแล้ว ไม่อาจจะมีพี่ชายได้อีก
พระเจ้าโกศลเห็นความฉลาดของนางจึงโปรดไว้ชีวิตชายทั้งสาม .เรื่องดังกล่าว
เลื่องลือแม้กระทั่งในหมู่ภิกษุ ความทราบถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรง
ระลึกชาติหนหลังด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ แล้วตรัสเล่า อุจฉังคชาดก:
ข้อคิดจากชาดก
๑. ผู้ที่มีหน้าที่ปราบปราม นำคนผิดมาลงโทษ ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ
อย่าจับ คนด้วยเพียงการคาดคะเน เพราะการลงโทษคนบริสุทธิ์เป็นบาปอย่าง
ยิ่ง การปล่อย คนผิดไป ๑๐๐ คน ยังดีกว่าการลงโทษคนบริสุทธิ์เพียงคนเดียว
๒. คนเราควรหาโอกาส “ตอบแทนคุณ” ของผู้ที่มีพระคุณต่อเราอยู่เสมอ
๓. ผู้ที่รู้บุญคุณและตอบแทนบุญคุณ ย่อมไม่ถึงความตกต่ำอย่างแน่นอน
๔. ผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในหลักธรรม แม้ความตายมาถึงตัว ก็มีสติตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
สามารถเผชิญความตายโดยอาจหาญ ย่อมเป็นผู้ที่ “ประสบสุขได้แม้
ในยามทุกข์”
๕. พี่น้องกันนั้น “ฆ่ากันไม่ตาย ขายกันไม่หมด” แม้จะมีเรื่องผิดใจกันอย่างไร
แต่เมื่อมีเรื่องเดือดร้อน ย่อมพึ่งพากันได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น