พุทธสถาน

หิมวันตประเทศ

สถานที่บำเพ็ญพรตของดาบส
ป่าหิมพานต์ อาณาบริเวณที่บำเพ็ญพรตของดาบสเวสสันดร ในปัจจุบัน หมายถึง “ภูเขาหิมาลัย” ป่าดงพงหิมะ เมื่อย่างเข้าเขตประเทศเนปาล วันที่ฟ้าสางทางเมฆเปิดให้ จวบกับทัศนวิสัยเป็นใจ จะเห็นป่าหิมะขาวโพลนเป็นปุยฝ้าย คลุมภูเขาทั้งลูกไว้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
     พระสุเมรุราชสิงขร เป็นชื่อในวรรณกรรมชิ้นเอก ในสายบางลี คือ “เวสสันดรชาดก” คัมภีร์ทองที่ท่องเป็นแบบบท มีอิทธิพลต่อชีวิตจิตใจชองชาวพุทธไทยมาช้านาน ในฉากตามท้องเรื่อง ก็ล้วนเก็บเกี่ยวภาคความวิจิตรจากเขตขัณฑ์บริเวณนี้ทั้งสิ้น
บรรดาขุนเขากว่า ๒๔๐ ยอดนั้น มีราชคีรีสูงสุดเหนือขุนเขาทั้งปวด ๘,๘๔๘ เมตร คือ “ยอดเขาสิขรมุทธา” หรือทั่วโลกรู้จักในนาม “เอเวอร์เรสต์” ชาวฮินดูเรียกว่าสังการ์ มาถา ชาวธิเบตแห่งหลังคาโลก เรียกขานว่า โสโม จุงกะมา
    ศาสนิกฮินดูเชื่อกันว่าเป็นแดนสุทธาวาส ที่สถิตของพระศิวะ ผู้เป็นจอมแห่งเทพชั้นสูง และเรียกยอดเขานี้ว่า “เขาไกรลาส” เป็นแดนแสวงบุญและอาศรมของเหล่าฤาษีผู้บำเพ็ญตบะ นับว่าสถานที่แห่งนี้ยังเป็นอาณาจักรลี้ลับที่นักปืนเขาทั้งหลาย ยังให้คำตอบไม่ตรงกัน
    ในคาถาพันของเวสสันดรชาดก มีเนื้อหาของ “มหาพน” ที่พรรณนาถึงป่าดงดิบ ที่ลำต้นระหงสูงใหญ่ มีอาณาเขตกว้างไกล ดินแดนดังกล่าวน่าจะเป็นส่วนเดียวกับหิมาลัยบรรพต อันมี “เอเวอร์เรสต์” นี้เป็นยอด ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของสวนลุมพินีวัน ถ้ามีเวลาลองเลยขึ้นไปดาร์จิลิง ก็จะเห็นเขตมหาวันที่มีน้ำแข็งเกาะกันตลอดทั้งปี อยู่เหนือระดับน้ำทะเล ๑๒,๐๐๐ ฟุต ส่วน “จุลวัน” หรือ “จุลพน” อยู่เหนือระดับน้ำทะเล ๑๐,๐๐๐ ฟุตขึ้นไป การเดินทางสู่ชาตสถาน สวนสวรรค์ของลุมพินีวัน อยู่ในเขตเนปาล ห่างจากโครักขปุร์ ๙๕ กม. ใช้เวลาประมาณ ๓ ชม. จะต้องแสดงหนังสือเดินทาง (Passport) ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองให้เรียบร้อย ทั้งอินเดียและเนปาล จึงจะเดินทางต่อไปลุมพินีวันอีก ๓๒ กม.ได้
ข้อมูลเนปาล
   เนปาล เป็นประเทศของชาวเนวารี ประชากร ๒๑ ล้านคน พูดภาษาเนปาลี ร้อยละ ๕๒ เปอร์เซ็นต์ มีพื้นที่ ๑๔๕,๓๑๙ ตร.กม. (๕๖,๑๓๙ ตร.ไมล์) ขนาดของประเทศจากตะวันออกถึงตะวันตก ๘๘๕ กม.(๕๕๗ ไมล์) จากเหนือจรดใต้ ๑๖๐ กม. (๑๐๐ ไมล์)
   ภูมิประเทศส่วนมากเป็นพื้นที่ภูเขา ๓๒ % เป็นพื้นที่ป่า ๑๔% เป็นที่เพาะปลูก ๑๓ % เป็นทุ่งหญ้า มีภูเขาสูงที่สุดในโลก คือ เอเวอร์เรสต์ สูง ๘,๘๔๘ เมตร (๒๙,๐๒๘ ฟุต) เวลาช้ากว่าประเทศไทย ๑ ชม. ๑๕ นาที และเร็วกว่าเวลาประเทศอินเดีย ๑๕ นาที
   มรสุมเริ่มในเดือนมิถุนายน เป็นเวลา ๓ เดือน ประชากรนับถือศาสนาฮินดู ๘๖ % ศาสนาพุทธ ๘ % ศาสนาอิลสาม ๓ % มีศาสนิกคริสเตียนอยู่ ๕๐,๐๐๐ คน จากการสำรวจขององค์กรอิสระ กล่าวว่า ผู้นับถือศาสนาพุทธน่าจะมีสูงกว่า ๔๐ % เพราะระหว่างศาสนาฮินดูกับศาสนาพุทธ ผสมผสานกลมกลืนกันมาก จนแยกออกจากกันแทบไม่ได้ แม้จะมีลัทธิตันตระกับวัชรยานมาคั่นระหว่างกลางแล้วก็ตาม รายได้ของประเทศจากการท่องเที่ยว ปีละ ๖๐ ล้านดอลล่าร์ ชาวเนปาลมีอายุขัยโดยเฉลี่ย ชาย ๕๕ ปี หญิง ๕๔ ปี ชาวต่างประเทศนิยมมาท่องเที่ยวประเทศเนปาลด้วยความพิสมัยในธรรมชาติ และ trekking คือ การปีนเขาน้ำแข็งด้วยความตื่นเต้น สนุก กับความเสี่ยงภัย ปีหนึ่งเป็นจำนวนมาก ๆ
สถานที่ประสูติ
สวนลุมพินีวัน คือ สถานที่ประสูตของพระพุทธเจ้าในตำบล “ลุมมินเด” ก่อนนั้นยังอยู่ในเขตอินเดีย คราวเมื่อแบ่งปันเขตแดนหลังสงคราม ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ (ค.ศ. ๑๙๕๐) ลุมพินีวัน ตกอยู่ในเขตของประเทศเนปาล
เมื่อมองย้อนอดีต สถานที่นี้ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ กับกรุงเทวทหะ มีโขดเขาล้อมรอบ ประดับด้วยหมู่ไม้ นานาพันธุ์ ทั้งสระน้ำ บรรณศาลาที่พัก ดอกไม้สวยงาม ส่งกลิ่นระรวยรื่นชื่นใจในฤดูใบไม้ผลิ เป็นสวนพฤกษชาติที่หย่อนใจ เวลาว่างจากการงานของชาวกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ
  ดูตามประวัติศาสตร์ ผนวกกับวรรณกรรมทางพุทธศาสนา ได้จารึกลุมพินีไว้ในฐานะเป็นสถานที่ประสูตของเจ้าฟ้าชายสิทธัตถะมกุฎราชกุมาร แห่งศากยมหานคร เมื่อ ๘๐ ปี ก่อน พ.ศ.๑ ก่อนพระมหาบุรษอุบัติในคัมภีร์ทศชาติ พรรณนาถึงการบำเพ็ญบารมีในชาติปางก่อนว่า ครั้งสุดท้ายพระโพธิสัตว์ทรงเป็นเทพบุตรประทับอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดุสิต ก่อนเสด็จอุบัติลงสู่โลกมนุษย์ ทรงพรรณนาถึง “ปัญจมหาวิโลกนะ” ๕ ประการ คือ กาลอันควร ทวีปอันควร ประเทศอันควร ตระกูลผู้ให้กำเนิดอันควร และมารดาผู้มีอายุอันควร
ทรงพิจารณาเห็นว่าตระกูลของผู้ครองนครศากยะ เป็นที่เหมาะแก่การอุบัติ และผู้ที่ควรรับรองกำเนิดคือ พระนางสิริมหามายา อัครมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ จึงตัดสินพระทัยเสด็จลงสู่พระครรภ์ เมื่อวันอาสาฬหปูรณมีเพ็ญเดือน ๘ และได้เสด็จอุบัติ ณ สวนลุมพินีวันสถาน เวลาแดดอ่อน ตะวันยังไม่ตรงศีรษะนัก วันศุกร์เพ็ญเดือน ๖ พระนางสิริมหามายาประทับยืน พระหัตถ์ขวาเหนี่ยวกิ่งไม้ ประสูตรพระโอรสได้สะดวก ข้าราชบริพาร