ทำไมคนมีสองตา...และมีหัวใจดวงเดียว

ทำไมคนมีสองตา...และมีหัวใจดวงเดียว

ทำไมคนมีสองตา ตาหนึ่งไว้สำหรับมองเห็นคนอื่น
อีกหนึ่งตาสำหรับมอง"ให้เห็น"ตัวเอง
ทำไมถึงมีสองหู


หูหนึ่งฟังเสียงภายนอก
อีกหูรับฟังเสียงภายใน
ทำไมจมูกมีสองรู
เผื่ออีกรูเป็นหวัด จะได้หายใจอีกรูได้
ไม่ต้องไปยืมจมูกคนอื่นมาหายใจ
ทำไมมีปากเดียว


จะได้พูดออกมาให้น้อยๆ
และต้องน้อยกว่าความคิด...เพราะปากเล็กกว่าสมอง

ทำไมมีสองขา
ขาหนึ่งสำหรับเดินในทางของตัวเอง
อีกหนึ่งขาเผื่อไว้ให้คนอื่นมาผูกติด และเดินไปด้วยกัน
(ชีวิตเราต้องผูกติดกับคนอื่นเสมอ...จะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม)
ทำไมมีสองมือ
มือหนึ่งสำหรับให้...
อีกมือสำหรับรับ...
Give & take
ให้และรับพอดีๆ
ทำไมมีหนึ่งสมอง
เพื่อจะรวมความคิดไว้ที่เดียว ไม่สับสน
ทำไมมีหัวใจดวงเดียว
เพราะแค่หัวใจอย่างเดียว ก็ทำได้ทุกอย่าง
เคยได้ยินไหม...คนที่ประสบความสำเร็จ มักจะทำทุกอย่างด้วย"หัวใจ"
แล้วทำไมหัวใจมีสี่ห้อง
ห้องนอน...ห้องครัว...ห้องน้ำ...ห้องนั่งเล่น ครบพอดี...
ได้บ้านหนึ่งหลัง Home is where is my heart,
มีสี่ห้อง...แต่ทุกห้องสำหรับอยู่ได้แค่คนเดียว
แล้วคนที่ตาบอดล่ะ
คนนั้นมีความพิเศษ...ดวงตาเขาอยู่ที่ใจ...
มองเห็นได้ลึกกว่า
คนที่หูไม่ได้ยิน
แต่รู้ไหมใจของเค้า...ฟังได้ชัดกว่า
คนที่เหลือมือเดียว หรือไม่มีมือ
คนคนนั้นสมควรได้รับมากกว่า
คนที่เหลือขาเดียว หรือไม่มีขา
คนคนนั้น ต้องการอีกขาที่ใจดีมาพาไปด้วยกัน
คนที่สมองไม่ทำงาน
ก็ขอให้มีหัวใจดีๆคอยนำทางก็พอ
ส่วนคนที่ไม่มีหัวใจ
...ไม่สมควรมีชีวิตอยู่...จริงๆ...

“ตำราแห่งชีวิต”

Lifebook หรือเป็น “ตำราแห่งชีวิต” ซึ่งเหมาะเจาะกับเนื้อหาและคำแนะนำที่ น่าสนใจยิ่ง
ทั้งง่ายและตรงไปตรงมา, ใครจะทำก็ ได้, ไม่ทำก็ได้, เป็น สิทธิ์ส่วนบุคคล, ไม่บังคับยัดเยียด
กัน,ไม่ต่อว่าต่อขานกัน, แต่ถ้าหากมีความ มุ่งมั่นจะทำอะไรให้กับชีวิตของตนเอง, ก็ถือ
ว่าเป็นเรื่องน่าส่งเสริมสนับสนุนสมควรจะให้กำลังใจแก่กันและกัน อย่างยิ่ง

สูตรที่ ว่านี้มีง่าย ๆ อย่างนี้
๑. ดื่มน้ำ ให้มาก
๒. กินอาหารเช้าเหมือนราชา, รับประทานอาหาร เที่ยงเหมือนเจ้าชายและเมื่อถึงอาหารเย็น,
    ให้วาดภาพ  ว่าตัวเองเป็นแค่ขอทาน (แปลว่ากินมือหนักที่สุดตอนเช้า, และกลาง ๆ ตอน
     เที่ยงและตกเย็นแล้ว, ทำ ตัวเป็นยาจก, ไม่มีอะไรจะกิน...สุขภาพจะเป็นอ ย่างเทวดา
     ทีเดียวเชียวแหละ)
๓. กินอาหารที่โตบนต้นและบนดิน,พยายาม หลีกเลี่ยงอาหารที่ผลิตจากโรงงาน
๔. ใช้ชีวิตบนหลักการ 3 E...นั่นคือ energyหรือพลังงาน, enthusiasm หรือกระตือตือร้น
     และ empathy คือเอาใจเขามาใส่ใจเราให้มาก ๆ
๕. หา เวลาทำสมาธิหรือสวดมนต์เสมอ
๖. เล่นเกมสนุก ๆ เสียบ้าง, อย่าเครียดกัน นักเลย
๗. อ่าน หนังสือให้มากขึ้น...ตั้งเป้าว่าปีนี้จะอ่านมากกว่าปีที่ผ่านมา
๘. นั่งเงียบ ๆ อยู่กับตัวเองสักวันละ 10นาทีให้ได้
๙. นอนวันละ 7 ชั่วโมง
๑๐.เดินสักวันละ 10 ถึง 30 นาที, แล้ว แต่จะสะดวก, ไม่ต้องเครียดกับมัน, วันไหนไม่ได้
      เดิน, ก็อย่าหงุดหงิดกับมัน
๑๑. ระหว่างเดิน, อย่า ลืมยิ้ม

นั่นเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพ กายและใจที่ผสมปนเปกันได้เสมอ, หากทำเป็น กิจวัตร,
ชีวิต ก็จะแจ่มใส,แต่ อย่าทำให้ตัวเองเครียดด้วยการรู้สึกผิดถ้าหากวันไหนทำไม่ได้ตาม
ที่วางกำหนดเวลาของตนเอาไว้
วันนี้ทำไม่ได้, พรุ่งนี้ทำก็ได้
แต่การไม่เอาจริงเอาจังกับตัวเอง เกินไปไม่ได้หมายถึงการผัดวันประกันพรุ่ง, ซึ่ง เป็นคน
ละเรื่องกัน สูตรเกี่ยวกับ บุคลิกของตัวเองที่ควรไปจะคู่กับสูตรสุขภาพมีอย่างนี้
๑. อย่า เปรียบเทียบชีวิตของตัวเองกับคนอื่น คุณไม่รู้หรอกว่าคนที่คุณอิจฉา นั้นเขามี
     ความทุกข์ ยิ่งกว่าคุณอย่างไรบ้าง
๒. อย่าคิดทางลบเกี่ยวกับ เรื่องที่ คุณควบคุมหรือกำหนดไม่ได้ แทนที่จะมองโลก
     ในแง่ร้าย, ก็ทุ่มเทกำลังและพลังงานให้กับความคิดทางบวก ณ ปัจจุบันเสีย
๓. อย่าทำอะไรเกินกว่าที่ตัวเอง ทำได้...รู้ว่าขีดจำกัดของตัวเองอยู่ที่ไหน
๔. อย่าเอาจริงเอาจังกับตัวเองนัก เพราะคนอื่นเขาไม่ได้ซีเรียสกับคุณเท่าไหร่หรอก
๕. อย่าเสียเวลาและพลังงานอันมี ค่าของคุณกับเรื่องหยุมหยิมหรือเรื่องซุบซิบ..นอก
     เสียจากว่ามันจะทำให้คุณผ่อนคลายได้อย่างจริงจัง
๖. จงฝันตอนตื่นมากกว่าตอนหลับ
๗. ความรู้สึกอิจฉาริษยาเป็นเรื่อง เสียเวลาเปล่า ๆ ปลี้ ๆ...คิดให้ดีก็จะรู้ว่าคุณมีทุกอย่าง
     ที่คุณจำ เป็นต้องมีแล้ว
๘. ลืมเรื่องขัดแย้งในอดีตเสีย และอย่าได้เตือนสามีหรือภรรยาคุณเกี่ยว กับความผิดพลาด
    ในอดีตของอีกฝ่ายหนึ่งเลย เพราะมันจะทำลายความสุขปัจจุบันของคุณ
๙. ชีวิตนี้สั้นเกินกว่าที่เราจะไป โกรธเกลียดใคร...จงอย่าเกลียดคนอื่น
๑๐.ประกาศสงบศึกกับอดีตให้สิ้น, จะ ได้ไม่ทำลายปัจจุบันของคุณ
๑๑.ไม่มี ใครกำหนดความสุขของคุณได้นอกจากคุณเอง
๑๒.จงเข้าใจเสียว่าชีวิตก็คือโรงเรียน คุณมาเพื่อเรียนรู้ และปัญหาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ
       หลักสูตร ซึ่งมาแล้วก็หายไป...เหมือน โจทย์วิชาพีชคณิต...แต่สิ่งที่คุณเรียนรู้นั้น
       อยู่กับคุณตลอด ชีวิต
๑๓. จง ยิ้มและหัวเราะมากขึ้น
๑๔. คุณไม่จำเป็นต ้องชนะทุกครั้งที่ถกแถลงกับคนอื่นหรอก...บาง ครั้งก็ยอมรับว่าเราเห็น
        แตกต่างกันได้...เห็นพ้องที่จะเห็นต่างก็ ไม่เห็นเสียหายแต่อย่างไร
        แล้วเราควรจะมีทัศนคติอย่างไรต่อชุมชนและคน รอบข้างเราล่ะ?
๑.. อย่า ลืมโทรฯ หาครอบครัวบ่อย ๆ
๒. จงหาอะไรดี ๆ ให้คนอื่นทุกวัน
๓. จงให้อภัยทุกคนสำหรับทุกอย่าง
๔. จงหาเวลา อยู่กับคนอายุเกิน 70 และต่ำกว่า 6 ขวบ
๕. พยายามทำให้อย่างน้อย 3 คนยิ้มได้ทุกวัน
๖. คนอื่นเขาคิดอย่างไรกับ คุณไม่ใช่เรื่องของคุณสัก หน่อย
๗. งานของคุณไม่ดูแลคุณตอนคุณป่วย หรอก แต่ครอบครัวและเพื่อนคุณต่างหากเล่าที่
      จะดูแลคุณใน ยามคุณมี ปัญหาสุขภาพ ดังนั้น, อย่าได้ห่างเหินกับคนใกล้ชิด
      เป็นอันขาดและถ้าหากสามารถดำรงชีวิตให้มีความหมายได้, ก็ ควรจะทำดังต่อไปนี้
๑. ทำสิ่ง ที่ควรทำ
๒. อะไรที่ไม่เป็นประโยชน์, ไม่สวย, ไม่น่ารื่นรมย์, จงทิ้ง ไปเสีย...เก็บไว้ทำไม?
๓. เวลา และพระเจ้าย่อมรักษาแผลทุกอย่างได้
๔. ไม่ว่าสถานการณ์จะดีหรือเลวปาน ใด,เดี๋ยวมันก็เปลี่ยน
๕. ไม่ว่าคุณจะรู้สึกอย่างไรในตอน เช้าของทุกวัน, จงลุก จาก เตียง, แต่งตัวและปรากฎตัว
      ต่อหน้าคนที่เราร่วม งาน ด้วย.
 get up, dress up and show up.

๖. สิ่งที่ดีที่สุดยังมาไม่ถึง
๗. ถ้าคุณยังลุก ขึ้นตอนเช้าได้, อย่าลืมขอบคุณพระเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุณนับถือเสียด้วย
๘. เชื่อเถอะว่า ส่วนลึก ๆ ในใจของคุณนั้นมีความสุข เสมอ...ดัง นั้น,
      ส่วนนอกของคุณทุกข์โศกไปทำไมเล่า?

Asanha Puja and Buddhist Lent


     The Asanha Puja Day is one of the sacred days in Buddhism as it marks the coming into existence of the Triple Gems, namely ; the Lord Buddha, His Teachings and His Disciples. The day falls on the fifteenth day of the waxing moon of the eighth lunar month (July). It is an anniversary of the day on which Lord Buddha delivered the First Sermon to his first five disciples at the Deer Park in Benares over two thousand five hundred years ago.
     To observe this auspicious day, Buddhists all over the country perform merit-making and observe Silas (Precepts). Some go to the temples to offer food and offerings to the monks and also listen to a sermon to purify their minds. The Asanha Puja Day falls on the day preceding the Buddhist Lent which starts on the fist day of the waning moon of the eighth lunar month.
     The tradition of Buddhist Lent or the annual three-month Rains Retreat known in Thai as “Phansa” dates back to the time of early Buddhism in ancient India, all holy men, mendicants and sages spent three months of the annual rainy season in permanent dwellings. They avoided unnecessary travel during the period when crops were still new for fear they might accidentally step on young plants. In deference to popular opinion, Lord Buddha decreed that his followers should also abide by this ancient tradition, and thus began to gather in groups of simple dwellings.
     Buddhist Lent covers a good part of the rainy season and lasts three lunar months. In Thailand, Buddhist monks resolve to stay in a temple of the choice and will not take an abode in an other temple until the Lent is over.
     The celebration of the beginning of Buddhist Lent is marked by the ceremony of presenting candles to the monks. Various institutions e.g. schools and universities, including public and private organisations will organise a colourful candle procession leading to a temple where the offering of the candles will be made.
Some Buddhist followers consider the beginning of Buddhist Lent as a time for making resolution such as refraining from smoking or observing five precepts (Panjasila) throughout the three-month Rains Retreat.